-
เมื่อการตลาดเปลี่ยนโลกแห่งวงการแฟชั่น
ภาพการเยื้องย่างของนางแบบ นายแบบบนแคทวอล์ค มักทำให้คนจินตนาการไปถึงการเดินแฟชั่นโชว์ของห้องเสื้อ หรือดีไซเนอร์ชั้นนำ และบ่อยครั้งที่ความคิดสร้างสรรค์ ความหรูหรา เสน่ห์ และลีลาของแฟชั่นได้กลายเป็นองค์ประ- กอบสำคัญที่ผลักดันให้เราเสียเงินเพื่อซื้อหาเสื้อผ้าอาภรณ์ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็น ต้องใช้มันจริงๆ แม้ธุรกิจแฟชั่นจะสร้างมูลค่าจนสามารถผลิดอกออกผลได้อย่างมหาศาล แต่ถ้าจะทำความเข้าใจอุตสาหกรรม แฟชั่น กันให้ลึกซึ้งจริงๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหยั่งถึงได้ในเวลาสั้นๆ เพราะเสื้อผ้าเมื่อผลิตเสร็จออกจาก โรงงาน มันก็เป็น เพียงสิ่งที่มีไว้เพื่อสวมใส่เท่านั้น แต่ทันทีที่นักการตลาดเอื้อมมือไปจับต้องเสื้อผ้าธรรมดา มันก็จะกลายเป็น “แฟชั่น” ทันที ทุกวันนี้ หลายคนอาจมองอุตสาหกรรม “แฟชั่น” ว่าไม่ใช่เรื่องของความต้องการพื้นฐาน (หรือปัจจัยสี่) โดยตรงที เดียวนัก แต่มันก็เป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ประมาณได้ว่าเงินที่ถูกใช้ไปเพื่อเสื้อผ้า-รองเท้าทั่วโลกตกอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ทั้งนี้สินค้าประเภทแฟชั่นและเครื่องหนังจะครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 42% ของยอดขาย ขณะที่น้ำหอมและเครื่องสำอาง ซึ่งมักจะขายโดยอาศัยชื่อแฟชั่นดีไซเนอร์ จะครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 37% นาฬิกาและเครื่องประดับจะครองส่วนแบ่งที่เหลือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มหาศาลนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคนิคทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ที่ซับซ้อน จึงนับเป็น เรื่องคุ้มค่ากับการเข้าไปตรวจสอบดูว่าอุตสาหกรรมนี้มันมีกลไกขับเคลื่อนอย่างไร หลายคนมองว่า เสื้อผ้าและเครื่องประดับคือภาพสะท้อนตัวตนของผู้คนในสังคม “เรารู้สึกกับตัวเราอย่างไร” “ปรารถนาให้คนอื่นมีพฤติกรรมต่อเราอย่างไร” แฟชั่นสามารถสื่อสารความต้องการนั้นออกมาได้ เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่เราจะให้คำจำกัดความของคำว่า “แฟชั่น”…
-
อุตสาหกรรมแฟชั่นในไทยนั้นยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมแฟชั่นในปี 2557 ว่า จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน คาดว่าในปี 2557 อุตสาหกรรมในกลุ่มแฟชั่นจะมียอดส่งออกขยายตัวประมาณ 5% หรือมีมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีมูลค่า 4.86 แสนล้านบาท โดยในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่าจะขยายตัว 6% มีมูลค่าประมาณ 3.2 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัว 5% มีมูลค่าประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่ไทยได้รับสิทธิ์เป็นผู้ตัดเย็บเสื้อกว่า 10 ทีม จากทั้งหมด 32 ทีม ทำให้ยอดส่งออกเสื้อกีฬาสูงขึ้นมาก ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า คาดว่าจะขยายตัว 2% มีมูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท “สาเหตุหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยยังคงขยายตัวในระดับ 5% มาจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักฟื้นตัวมากขึ้น ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ก็อาจทำให้การเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ได้”นางอรรชกา กล่าว สำหรับตลาดส่งออกหลักในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ จีน รองลงมาเป็นสหภาพยุโรป…