-
ต่อเรื่องโจโฉ ตัวละครในสามก๊ก
“โจโฉสอนประชาชนแล้วก็มีการให้ขุนศึกไปช่วยกันทำนา เช่น แฮหัวตุ้นไปทำเขื่อน โจโฉก็ไปช่วยทำนา มันเป็นการสอนให้เห็นว่าคนทุกชนชั้นต้องช่วยๆ กัน ไม่ใช่ปล่อยให้ชนชั้นปกครองคิด คนรากหญ้าทำ ผมว่าอย่างนี้มันไม่มีประสิทธิผล คนระดับสูงต้องมาช่วยทำด้วย ไม่ใช่แค่วางแผนก็พอแล้ว อย่างนี้ไร้ประโยชน์ มันไม่แข็งแรง คนระดับสูง ๆ มาช่วยเราทำงานมันทำให้มีกำลังใจ แล้วประเทศชาติก็จะเจริญขึ้น” เมธากล่าว คล้ายกันกับตรีภูมิ ซึ่งคิดว่าโจโฉ ในสามก๊กมีความเป็นนักเลงมากกว่า ตัดสินใจเด็ดขาด และโจโฉโดยนิสัยใจคอมีเล่ห์เหลี่ยมน้อย ซึ่งน่ายกย่อง “เขาจะเสียอย่างเดียวตรงตอนยึดกุมอำนาจราชสำนักส่วนกลางได้สักพักหนึ่ง เลือกตั้งสมัยที่สอง เอ้ย ไม่ใช่สิ พอยึดอำนาจส่วนกลางได้พักหนึ่งแล้วเขาจะลืมตัว อหังการอยู่พักหนึ่งทำให้ช่วงนั้นไปเหยียบตาปลาใครหลาย ๆ คนเข้า สำหรับตัวผมเองสามก๊กจริง ๆ เริ่มหลังราชโองการเลือด เพราะหลังจากราชโองการเลือดทำให้คนตีตราโจโฉว่าไม่จงรักภักดี” สุขสันต์คิดว่ามุมมองที่มีต่อโจโฉว่าเป็นผู้ร้ายนั้นมาจากชนชั้นศักดินา นักเขียนนักวิชาการ ซึ่งอาจจะไม่ศึกษาความจริงทางประวัติศาสตร์มาอย่างถี่ถ้วน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นี่เป็นตัวอย่างที่ดีเรื่องอำนาจ “กรณีโจโฉนี่แหละ ผมคิดว่าเป็นที่มาให้พวกตะวันตกประธานาธิบดีเป็นได้ไม่เกิน 2 สมัย ถ้าเป็นสมัยที่ 3 เริ่มเสียคนแล้ว ยิ่งได้คะแนนเสียงมาแบบแลนด์สไลด์ จะถือว่าเสียคนมาก … ครั้งแรกก็ชนะขาด ครั้งที่สองก็สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียว เริ่มทำให้คนเสียคนแล้ว จริง…